เปิดที่มา พระพิฆเนศ : ก่อนจะมาเป็น กาเนชา อาร์ตทอย

พระพิฆเนศ กาเนชา

พระพิฆเนศ กาเนชา นั้นเป็นมากกว่าแค่รูปปั้นอาร์ตทอยสุดน่ารักที่เราเห็นกันทั่วไป ท่านคือเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในศาสนาฮินดู มีบทบาทสำคัญในการขจัดอุปสรรคและนำพาความสำเร็จมาสู่ผู้ที่ศรัทธา

พระพิฆเนศ ในตำนาน

ในตำนาน คัมภีร์ปูราณะ กล่าวไว้ว่า มีเทวาลัยองค์หนึ่งที่โสมนาถ พระศิวะได้ไปตั้งศิวลึงค์ไว้ ใครไปไหว้ บาปจะหมดไป แล้วได้ขึ้นสวรรค์

"พวกคนชั่วก็พากันไปโสมนาถ พระอินทร์ก็บ่นว่า ทำไมสวรรค์คนเต็มไปหมด พอรู้เรื่องเทวาลัย ก็ไปฟ้องพระศิวะ

พระศิวะก็แบ่งใจออกมากลายเป็นบุตร คือ พระคเณศ แล้วสั่งให้ไปเฝ้าโสมนาถไว้ ใม่ให้คนชั่วเข้าไปไหว้ได้ ท่านจึงเป็นเทพแห่งอุปสรรค

ทำไมเราถึงนับถือพระพิฆเนศ?

เทพแห่งการเริ่มต้น: พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าองค์แรกที่มักถูกบูชาในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือการเริ่มต้นโครงการใดๆ ก็ตาม เนื่องจากเชื่อกันว่าท่านจะช่วยขจัดอุปสรรคและนำพาความสำเร็จมาให้
เทพแห่งปัญญา: ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะเทพเจ้าแห่งปัญญาและความฉลาดเฉลียว จึงเป็นที่เคารพนับถือของนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่ทำงานทางด้านปัญญา
เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์: ด้วยรูปลักษณ์ที่อ้วนท้วนสมบูรณ์แบบ พระพิฆเนศจึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง
เทพแห่งอุปสรรค: แม้จะดูขัดแย้ง แต่พระพิฆเนศยังเป็นเทพเจ้าแห่งอุปสรรคอีกด้วย เนื่องจากเชื่อกันว่าท่านสามารถขจัดอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างสิ้นเชิง

ตำนานของพระพิฆเนศ

ตำนานเกี่ยวกับพระพิฆเนศมีหลากหลาย แต่โดยสรุปแล้ว พระพิฆเนศเป็นโอรสของพระศิวะและพระอุมาเทวี มีลักษณะเด่นคือเศียรช้าง ซึ่งมีเรื่องราวเล่าขานกันมากมายเกี่ยวกับการที่พระองค์ได้เศียรช้างมา

เศียรช้าง: สัญลักษณ์ของปัญญา ความแข็งแกร่ง และความทรงจำอันดี
งา: แทนความสามารถในการขจัดอุปสรรคและอำนาจ
ท้องที่ใหญ่: เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และความสุข
พระพิฆเนศในยุคปัจจุบัน
ในยุคที่เศรษฐกิจและสังคมมีความไม่แน่นอน การมีที่พึ่งทางใจเป็นสิ่งสำคัญมาก การนับถือพระพิฆเนศจึงเป็นเหมือนการหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ให้กำลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้เราตั้งใจมุ่งมั่นในการทำงานและการศึกษา

 

นอกจากนี้ การบูชาพระพิฆเนศยังเป็นการส่งเสริมให้เรามีสมาธิ จดจ่อกับเป้าหมาย และมีสติในการใช้ชีวิต

การที่พระพิฆเนศกลายมาเป็นที่นิยมในรูปแบบของอาร์ตทอยนั้น สะท้อนให้เห็นว่าศรัทธาและความเชื่อสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามยุคสมัย แต่แก่นแท้ของความเชื่อยังคงอยู่ ส่วนในด้านจิตวิเคราะห์ ไมเคิล ไรท์ นักคิด นักเขียน กล่าวว่า พระพิฆเนศมีความก้ำกึ่ง ตัวเป็นคน หัวเป็นช้าง เด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง และตำแหน่งของเขามักอยู่ที่ประตู ทวารบาล คนเราถ้าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องก้าวข้ามกึ่งกลางนี้ไป นี่คือเทพของระหว่างกลาง ก่อนจะเป็นคนโดยสมบูรณ์ขณะเดียวกันก็มีรูปลักษณ์ เป็นมิตร ตะมุตะมิ ในภาษาอินเดียใต้มีคำเรียกพระพิฆเนศวรว่า ปิลไลยาร์ แปลว่า ลูกช้าง"

 

รองลงมาคือ โลหะ ซึ่งแบ่งเกรดออกไปอีก เป็น สำริด ทองแดง ทองคำ เงิน ทองเหลือง ไม้

เทวรูป แบ่งเป็นประเภท คือ แบบเคลื่อนที่ได้ และแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้ อยู่กับที่

ความสูงของเทวรูป ก็ต้องไม่สูงใหญ่เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ หรือถ้าเป็นลอยองค์ก็นับตั้งแต่หนึ่งองคุลีของเจ้าของขึ้นไป

นอกจากนี้ยังมีขนบอีกเยอะ เช่น เทวรูปที่ทำพิธีแล้วนำมาบูชาอยู่ในเรือนเดียวกัน ห้ามมีจำนวน 3 องค์ จะทำให้เกิดรังควาน เกิดความไม่สงบที่บ้าน

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

แต่มีจำนวนมากกว่า น้อยกว่าได้

พราหมณ์ในเมืองไทยส่วนใหญ่เวลาไปปลุกเสกเทวรูป มักจะปลุกเสกไว้ 50% เพราะไม่รู้ว่าในบ้านมี 3 องค์ไหม หากปลุกเสกเต็ม 100 เดี๋ยวตีกัน ยุ่งเกิน

ปัจจุบันมีการทำอาร์ตทอยเป็นรูปพระพิฆเนศออกมามากมาย หากผู้สร้างมีความรู้เรื่องการสร้างเทวรูปของอินเดียก็จะเป็นสิ่งที่ดี

มีการแยก พระพิฆเนศวร ที่เป็นงานศิลปะ อาร์ตทอย กับงานเทวรูปเคารพบูชา ออกจากกันอย่างชัดเจน

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

 

เช่าพระพิฆเนศ ที่ไหนดี

ผศ. คมกฤช ตอบว่า เอาที่ชอบ เอาที่พอใจ

"ถ้าซีเรียสเรื่องพิธีกรรม ผ่านปลุกเสก ก็ซื้อจากหน่วยงานรัฐ เช่น กรมศิลปากร วิทยาลัยนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ โบสถ์พราหมณ์ เทพมณเฑียร วัดแขก สีลม พวกนี้เขาทำพิธี เป็นเทวรูปไปเลย

แต่ถ้าคิดว่าไม่สวยไม่อยากได้ ก็ไปหามา แล้วไปที่เทพมณเฑียร โบสถ์พราหมณ์ ฮินดูสมาส ให้เขาทำพิธีให้ แล้วคุณก็ทำบุญกับเขา อันนี้กรณีที่อยากเอาไปบูชาจริง ๆ แล้วทำจริง ๆ เพิ่มความสบายใจ"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

อยากไปไหว้พระพิฆเนศ ประเทศอินเดีย ต้องไปที่ไหน
ต้องไปที่เมือง ปูเน่ มีพระพิฆเนศ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นหิน 8 องค์

ปูเน่ ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ไปลงมุมไบ แล้วนั่งรถไปอีกชั่วโมงกว่า ๆ จากนั้นออกไปตามบ้านนอก จะมีวัดอยู่ 8 วัด ตั้งอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอยCr. Kanok Shokjaratkul

คนไทยปัจจุบันเปิดกว้าง นับถือทุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จะว่าไปแล้ว คนไทยไม่ได้นับถือพุทธศาสนาอย่างเดียว

"ผมมีความพึงพอใจมากที่เป็น ผี พราหมณ์ พุทธ ผมรู้สึกว่าผมเป็นมิตรกับทุกคน ไม่กีดกันใครออก

ผมไปวัดพุทธผมกราบด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างถึงที่สุด ผมไปฝั่งฮินดูเทพเจ้าทั้งหลายก็เป็นมิตรกันเรารักกัน

ผมไปศาลผีประเพณีชาวบ้านไหว้ผีปู่ตายาย ผมเคารพเขาในฐานะบรรพชน ผมไหว้เจ้าไหว้อากงอาม่าผม ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอยCr. Kanok Shokjaratkul

เรื่องพวกนี้อยู่ที่เรา ใครจะนับถืออะไรแล้วแต่เขา ตราบใดที่มันไม่ไปละเมิดกฎหมาย ไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพคนอื่น

สุดท้ายสังคมก็จะเติบโตไปเอง ผมเป็นอาจารย์ พอสำรวจนักศึกษาว่า ใครนับถือศาสนาอะไร ส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนาอะไรแล้ว มันเป็นเรื่องความลื่นไหลของวัฒนธรรมต่าง ๆ

นี่คือสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ ดูความเปลี่ยนแปลงไป อย่ากังวล"